วันนี้ขอมาแนะนำวิธีการใช้งานบรรจุภัณฑ์ป้องกันสนิม ในกรณีที่ชิ้นงานถูกใส่ไว้ในกล่องที่ต้องมีการเรียงซ้อนเป็นชั้นๆ แล้ววางบนรถเข็นตามในรูปกันนะครับ
โดยถ้าอ้างอิงตามตำรา การใช้งานถุงพลาสติกกันสนิมสำหรับรองก้นกล่องหรือรองก้นพาเลทแล้วใส่ชิ้นงานเรียงซ้อนกันหลายๆชั้นขึ้นมา ก็ยังมีปัญหาว่าพลังการปล่อยโมเลกุลจากผนังของถุงพลาสติกกันสนิมยังมีระยะจำกัด ตามตำราเขียนว่าประมาณ 300-400mm เท่านั้นเอง ซึ่งกรณีนี้ต้องเพิ่มความเข้มข้นด้วยการเสริมกระดาษกันสนิม (Interleaf of VCI Paper for Inner Part Protection)ระหว่างชั้นของตัวชิ้นงาน แต่ละชั้นๆ ลักษณะการประยุกต์ใช้งานประมาณรูปด้านล่างนี้ครับ
โดยอ้างอิงจากทฤษฎีการฟุ้งกระจายของสารป้องกันสนิม จะเห็นได้ว่าคอนเซปการใช้ถุงพลาสติกกันสนิมคลุมจากด้านนอกโดยชิ้นงานถูกซ้อนไว้ในลังพลาสติกอีกต่างหาก จึงไม่น่าจะเวิร์คหรืออาจจะไม่สามารถป้องกันการเกิดสนิมได้ทั่วถึง
ซึ่งก่อนหน้านี้ ตัวชิ้นงานได้ถูกจัดเรียงไว้ในลังพลาสติกโดยไม่มีการชุบน้ำมันหรือทาจาระบีแต่อย่างใด
เพื่อให้สรอดคล้องกับขั้นตอนการทำงาน (Work Process) เดิมและไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนขั้นการทำงานมาเกินไป ทางเราจึงแนะนำ 2 แนวทางสำหรับกรณีคือ
1.ทำถุงพลาสติกกันสนิมรองก้นลังพลาสติกแต่ละใบ ( Box Liner Bag)
2.การใส่แผ่นกระดาษกันสนิม (VCI Kraft Paper) ลงไปในลังแต่ละใบ
โดยกรณีนี่เราไม่จำเป็นต้องนำกระดาษกันสนิมมาห่อชิ้นงานโดยตรงที่ละชิ้นๆ แต่เราจะอาศัยกระดาษเป็นตัวอุ้มสารกันสนิมไว้ แล้วปล่อยโมเลกุลของสารกันสนิมออกมาภายในลังพลาสติก หลักการคล้ายเราวางแผ่นน้ำหอมไว้ในตู้เสื้อผ้า ความหอมจากแผ่นปรับอากาศหอมฟุ่งกระจายไปทั้วตู้เสื้อผ้า
เพียงเท่านี้ชิ้นส่วนโละหะของคุณลูกค้าก็จะได้รับการปกป้องยาวนาน และเนื่องจากเป็นสารระเหยจึงสามารถเข้าถึงจุดที่ยากต่อการเข้าถึงได้ พร้อมใช้งานได้ทันที เพราะเมื่อจะนำออกมาใช้งาน ไม่ต้องล้างทำความสะอาดให้เสียเวลา เสียค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าบำรุงรักษาเครื่องจักร (เครื่องล้าง) และไม่ต้องปล่อยของเสียเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม