อย่างที่ทราบกันนะครับว่าหลักการทำงานของบรรจุภัณฑ์ป้องกันสนิมก็คือการปล่อยไอระเหยในระดับโมเลกุลออกมาจากตัววัสดุนั้นนั้นเช่นกระดาษกันสนิมพลาสติกกันสนิมหรือศาลเกษมแบบผงในลักษณะต่างๆโดยโมเลกุลเหล่านั้นจะละเหยออกมาแล้วเกาะที่ผิวของโลหะทำหน้าที่เหมือนเป็นฉันฟิล์มเคลือบผิวโลหะไว้เพื่อป้องกันการเกิดออกซิเดชันหรือการเกิดสนิม
อย่างที่ทราบกันนะครับว่าหลักการทำงานของบรรจุภัณฑ์ป้องกันสนิมก็คือการปล่อยไอระเหยในระดับโมเลกุลออกมาจากตัววัสดุนั้นนั้นเช่นกระดาษกันสนิมพลาสติกกันสนิมหรือศาลเกษมแบบผงในลักษณะต่างๆโดยโมเลกุลเหล่านั้นจะละเหยออกมาแล้วเกาะที่ผิวของโลหะทำหน้าที่เหมือนเป็นฉันฟิล์มเคลือบผิวโลหะไว้เพื่อป้องกันการเกิดออกซิเดชันหรือการเกิดสนิม
ภาพ 1. แสดงถึงชั้นของโครเมียมออกไซด์บนผิวโลหะที่สามารถป้องกันเหล็กกล้าไร้สนิมจากการกัดกร่อนซึ่งมีความหนาเพียง 130 อังสตรอมหรือประมาณ 13 นาโนเมตร
ภาพ 2. แสดงถึงชั้นฟิล์มที่ถูกทำลายไปเมื่อผิวโลหะได้รับความเสียหาย
ภาพ 3. แสดงให้เห็นว่า ชั้นฟิล์มดังกล่าวสามารถสร้างใหม่ได้เองเมื่อโครเมียมในเนื้อโลหะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศเกิดเป็นชั้นโครเมียมออกไซด์อีกครั้ง
ในกระบวนการผลิตเหล็กกล้าไร้สนิม ผู้ผลิตจะเติมโครเมียมลงในน้ำเหล็กแล้วรอให้น้ำเหล็กเย็นจนเหล็กแข็งตัว จากนั้นจะนำเหล็กที่แข็งตัวแล้วไปแช่ในกรด (Pickling) เพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้อนต่างๆ (Impurity) ให้ออกจากผิวโลหะซึ่งเป็นการเตรียมพื้นผิวให้เหมาะสมต่อกระบวนการสร้างฟิล์มบาง (Passivation) ที่จะเกิดขึ้น
ลักษณะการใช้งานของเหล็กกล้าไร้สนิม
ด้วยความแข็งแรงและทนต่อการกัดกร่อนของเหล็กกล้าไร้สนิม มันจึงได้รับความนิยมนำมาใช้เป็นวัสดุหลักที่สำคัญในงานก่อสร้าง เช่น ใช้เป็นโครงสร้างของตึกระฟ้า ใช้สร้างบ้าน ใช้เป็นท่ออุตสาหกรรมและท่อน้ำสำหรับอาคาร ฯลฯ ใช้ทำเป็นเครื่องมือ (Hardware) เครื่องมือขนาดเล็กที่ทำงานด้วยมือ (Hand tool) และใบเลื่อย รวมทั้งใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร หรือเครื่องประดับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: MTEC